วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Recorded Diary 14 Friday 28 April 2016

Recorded Diary 14 Friday  28 April 2016

ความรู้ที่ได้รับ(Knoeledge)




*** ขาดเรียนคัดลอกมาจาก นางวาวปัณฑิตา คล้ายสิงห์ ***



โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล 
(Individualized Education Program)


- แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก


IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล


ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ


ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล



1.การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง



      2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง


      3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน


      4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล


กิจกรรมในชั้นเรียน



ใช้สีเทียนระบายเป็นวงกลมวนไปรอบๆใช้สีอะไรก็ได้
เป็นการทายลักษณะนิสัยลึกๆ โดยสีที่อยู่ในวงในบ่งบอกถึงลักษณะนิสัยลึกๆ
ส่วนสีที่อยู่วงนอกสุด คือสิ่งที่เราเเสดงออกมาให้ผู้อื่นได้เห็น 



Recorded Diary 13 Friday 22 April 2016

Recorded Diary 13 Friday  22 April 2016

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)




การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

- เพื่่อให้เด็กสามารถช่วยตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
- ใช้ชีวิตในสังคมให้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

จุดประสงค์หลัก ให้ใช้ชีวิตประวันได้  ยกตัวอย่างเช่น  

สามารถเข้าห้องน้ำเองและทำความสะอาดภารกิจของตนเองได้ 


สามารถแต่งตัวใส่เสื้อผ้าตนเองได้


สามารถรับประทานอาหารเองได้


สามารถมีสังคมเล่นกับเพื่อนได้



รู้จักมารยาทบนโต๊ะอาหาร


การฟื้นฟูทางสมรรถภาพทางการศึกษา
  • เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะด้านความคิด
  • เกิดผลดีในระยะยาว
  • เน้นการเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิตประจำวันเน้นวิชาการ
  • แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IPE)
  • โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทางโรงเรียนรวม ห้องเรียนคู่ขนาน
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  • การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
  • การฝึกฝนทักษะในสังคม (Social Skill Training)
  • การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
การบำบัดทางเลือก
  • การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
  • ศิลปะกรรมบำบัด (Art Therapy)
  • ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
  • การฝังเข็ม (Acupuncture)
  • การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
  • การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies) 
  • โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS) 
  • เครื่องโอภา (Communication Devices) 
  • โปรแกรมปราศรัย

แผ่นภาพสื่อความหมายทดแทน
Picture Exchange Communication System (PECS)





การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางสังคม
  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข


ทักษะทางภาษา
  • เข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วย
  • ถามหาสิ่งต่างๆแปลกใหม่
  • บอกเล่าเหตุการที่เกิดขึ้น
  • ใช้คำศัพท์ตัวเองกับเด็กคนอื่น
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
  • เรียนรู้การดำเนินชีวิตโดยให้อิสระมากที่สุด
  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • เด็กอยากทำตามึวามสามารถ
  • เด็กจะเลียนแบบการช่วยเหลือจากเพื่อน หรือจากเด็กที่โตกว่า หรือผู้หญิง

หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  • เด็กสามารถทำได้เอง แค่ให้เวลาเขา 
กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงแรกๆเด็กไม่มองคนอื่นเป็นเพื่อน แต่จะเป็นอะไรที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมไว้หลายๆอย่าง
  • คำนึงถึงเด็กทุกคน
  • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม 2 - 4 คน
  • ครูปฎิบัติกับ "เด็กพิเศษ" เหมือนกับ "เด็กที่ปกติ"



การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก

การต่อบล็อก


การทำศิลปะ



การกอกน้ำ การตวงน้ำ



ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่


จิ๊กซอภาพ แต่ น้อยชิ้น





บทบาทของครุ
                                                        
                

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น

  • อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  • เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม






การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน


ตำแหน่งของเด็กพิเศษในห้องเรียนต้องขึ้นอยู่กับอาการของเด็ก 
  • นั่ง ข้างในดีที่สุด หรือ ขวามือของครู ไกลจากประตูดีที่สุด



ภาพกิจกรรม

การเล่นของเด็ก



การสอนเด็กใส่ผ้ากันเปื้อน






การประเมิน (Assessment)

การประเมินห้องเรียน (Classroom)
- ห้องเรียนอุปกรณ์เครื่องมือเหมาะสมแก่การเรียน บรรยากาศดีเย็นสบาย

การประเมินเพื่อน (Classmate)
- เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลาส แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน

การประเมินอาจารย์ (Teacher)
- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการเตรียมตัวในการสอนอย่างดีและสอนอย่างเข้าใจ

การประเมินตนเอง (Self)
- ตั้งใจเรียน เข้าเรียนสาย และมีความตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี เข้าใจและตอบคำถามสงสัยก็ถาม














Recorded Diary 12 Friday 1 April 2016

Recorded Diary 12 Friday 1 April 2016




*** ขาดเรียน คัดลอก มาจาก นางสาวปัณฑิตา คล้ายสิงห์ ***



ภาพกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำในคาบเรียน
อาจารย์วาดรูปภาพตามที่ปรากฏเห็น และบรรยายตามคสามรู้สึกที่เรามองเห็นจากภาพนั้น






Recorded Diary 11 Friday 25 March 2016

Recorded Diary 11 Friday 25 March 2016

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)




*** อาจารย์แจกผลคะแนนสอบ *** 




Recorded Diary 10 Friday 18 March 2016

Recorded Diary 10 Friday 18 March 2016

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)


** สอบกลางภาค ***



Recorded Diary 9 Friday 11 March 2016

Recorded Diary 9 Friday 11 March 2016

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)




เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
(Children with Behaviorally and Emotional Disorders)

หมายถึง ผู้ที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพ ปกติ เช่นคนปกตินาน ๆ ไม่ได้ หรือผู้ที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้

องค์ประกอบต่างๆ  

1. สภาพแวดล้อม
2. ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
3.เป้าหมายของแต่ละบุคคล

ลักษณะ

1.ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติและเด็กที่ไม่สามารถเรียนได้นั้น มิได้มีสาเหตุมา จากองค์ประกอบทางสติปัญญา และสุขภาพ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
 2. ไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนนักเรียนด้วยกัน หรือ  กับครูได้ 
3. มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กปกติอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน
 4. มีความคับข้องใจ และ มีความเก็บกดอารมณ์ 
5. แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศรีษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือมีความ หวาดกลัว เมื่อมีปัญหาส่วนตัวหรือปัญหาทางด้านการเรียน


เด็กสมาธิสั้น 
(Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders) 
หรือเรียก ย่อ ๆ ว่า

ADHD 



ADHA เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชมีลักณะเด่นอยู่ 3 ประการคือ
  •   สมาธิสั้น (Inattentiveness)
  •  ซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity)
  • หุนหันพลันแล่น (Impulsiveness)  

สาเหตุ
  • ความผิดปกติของสารเคมีบางตัวในสมอง
  • พันธุกรรม
  • สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ


เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)


หมายถึง ผู้ที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหา ขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก 
เช่น ปัญญาอ่อน – ตาบอด ปัญญาอ่อน-ร่างกายพิการ หูหนวก-ตา บอด ฯลฯ

การประเมิน (Assessment)

การประเมินห้องเรียน(Classroom)
- ห้องเรียนมีเครื่องมืออุปกรณ์เหมาะสมแก่การเรียนการสอน เย็นนสบาย บรรยากาศเหมาะสมแก่การเรียนการสอน

การประเมินเพื่อน (Classmate)
- เพื่อนเข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน มีความสนอกสนใจในการเรียน

การประเมินอาจารย์ (Teacher)
- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยมีการสอนอย่างละเอียด สอนอย่างเข้าใจอย่างง่าย

การประเมินตัวเอง (Self)
- แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มีการจดและทำงานตามได้รับมอบหมายใรคาบอย่างตั้งใจ













Recorded Diary 8 Friday 4 March 2016

Recorded Diary 8 Friday 4 March 2016

*** งดการเรียนการสอน เนื่องจาก อาจารย์ ติดภารกิจ ***