วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Recorded Diary 3 Friday 29 January 2016

Recorded Diary 3 Friday 29 January 2016

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)





เด็กที่มีความต้องการพิเศษแบ่ง เป็น 2 กลุ่ม 
คือ 1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
     2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง 


1.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง มีความเลิศทางด้สนสติปัญญา
 โดยทั่วไป เรียกว่า "เด็กปัญญาเลิศ" (Gifted Child)


เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child) หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญาและความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าในเด็กวัยเดียวกัน  คำที่ใช้ในความหมายที่มีอยู่หลายคำ เช่น เด็กปัญญาเลิศ , เด็กอัจฉริยะ , เด็กฉลาด , เด็กมีพรสวรรค์ 

ตัวอย่างเด็กปัญญาเลิศ   

คิม อึงยอง Kim Ung-yong  มีระดับ IQ 210 ชาวเกาหลี

ตอนอายุ 4 ปี สามารถแก้โจทย์คณิตศาสตร์ชั้นสูง 
ที่เรียกว่า สมการดิฟเฟอเรนเชียล 
(Differential Equation)
(ปกติมีเรียนในหลักสูตร วิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 3) 


Akrit Jaswal  มีระดับ IQ 146 ชาวอินเดีย
ศัลยแพทย์ อายุ 7 ขวบ

Aelita Andre ชาวออสเตรเลีย

มีผลงานภาพออกแสดงในแกลลอรี่มีชื่อเสียง 
ด้วยวัยเพียง 2 ขวบ 
ศิลปิน แนว Abstrac


Elaina Smith ชาวอังกฤษ
ให้คำปรึกษาปัญหาชีวิต สุดยอด 
เด็กอัฉริยะที่มีสติปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ 
( Interpersonal Intelligence ) 
อายุ 7 ขวบ


ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
- พัฒนาการทางร่างกายและจิจใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
- จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
- อยากรู้อยากเห็นและชอบซักถาม


ความแตกต่างของเด็กฉลาดกับเด็กปัญญาเลิศ

   เด็กฉลาด (Wise Child)                              เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child)
- ตอบคำถาม                                                - ตั้งคำถาม
- สนใจเรื่องที่ครูสอน                                     - สนใจเรื่องที่ตนเองสนใจ
- มีความจำดี                                                 - เบื่อง่าย
- เรียนรู้ง่ายและเร็ว                                        - ชอบเล่า
-พอใจผลงานตัวเอง                                      - ติเตียนผลงานตนเอง        


2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะความบกพร่อง
(Impairment) เช่น 

2.1 เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
2.2 เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  (Children with Hearing Impaired )
2.3 เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น   (Children with Visual Impairments Children)
2.4 เด้กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments)
2.5 เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)
2.6 เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behaviorally and Emotional Disorders)
2.7 เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities)
2.8 เด็กออทิสติก (Autistic)
2.9 เด็กพิการซ้ำซ้อน (Children with Multiple Handicaps)



2.1 เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 
(Children with Intellectual Disabilities) 

หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญา หรือเชาว์ปัญญาต่ำากว่า เกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และ เด็กปัญญาอ่อน




เด็กเรียนช้า หมายถึง เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ ระดับ IQ ประมาณ 71-90

ลักษณะ เด็กกลุ่มนี้จะขี้อาย และปฏิเสธที่จะฝึกฝนซ้ำๆ เพราะพวกเขาทำไม่ได้ หรือพบว่ามันยากสำหรับพวกเขา ในขณะที่เพื่อนคนอื่นๆ ทำได้ ทำให้รู้สึกอายและไม่พอใจ อย่างไรก็ตาม แค่เพียงมีปัญหาในห้องเรียนไม่ได้หมายความว่าเด็กจะต้องมีปัญหาทางการเรียนรู้เสมอไป เด็กแต่ละคนมีวิธีที่จะเรียนรู้แตกต่างกันไป เช่น บางคนชอบที่จะฝึกฝนไปเรื่อยๆ บางคนชอบที่จะฟังเพื่อทำความเข้าใจ เป็นต้น หรือเด็กบางคนอาจแค่อ่านช้าหรือเรียนช้ากว่าเพื่อนอยู่แล้ว แต่ไม่ได้มีพัฒนาการที่ด้อยกว่าเกณฑ์ 

สาหตุ 
ภายนอก                                              ภายใน
-เศรษฐกิจครอบครัว                             - พัฒนาการช้า
-การเลี้ยงดู                                         - การเจ็บป่วย





เด็กปัญญาอ่อน หมายถึง เด็กที่มีภาวะพัฒนาการหยุดชะงัก หรือ มีระดับสติปัญญาต่ำ แบ่ง IQ ได้ 4 กลุ่ม
1.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก ระดับ IQ ต่ำกว่า 20 ลงไป
2.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก ระดับ IQ ระหว่าง 20 - 34 
3.เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง ระดับ IQ ระหว่าง 35 - 49 เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
4.เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย ระดับ IQ ระหว่าง 50 - 70 เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)


โรคดาวน์ซินโดรม
(Down syndrome)
สาเหตุ
- โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง

ลักษณะ
จมูกแบน
- ปากเปิดออก
- ลิ้นมักจะจุกอยู่ที่ปาก 
- หูมีขนาดเล็ก 
- มือสั้นและกว้าง เส้นลายมือมักมีเส้นตัดขวางเส้นเดียว
- นิ้วก้อยเอียงเข้าหานิ้วนาง  
- ศีรษะเล็ก กะโหลกศีรษะด้านหลังแบน 
- ร่างกายเตี้ยกว่าปกติและส่วนใหญ่มักจะอ้วน

การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์
- เจาะเลือดมารดาระหว่างตั้งครรภ์
- อันตราซาวน์
- การตัดชิ้นรก
- เจาะถุงน้ำคร่ำ


2.2 เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 
 (Children with Hearing Impaired ) 


หมายถึง ผู้ที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้ การรับฟังเสียงต่าง ๆได้ไม่ชัดเจน

        มี 2 ประเภท 
 1.หูตึง
 2.หูหนวก

เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่ไม่กับถึงหมดโอกาสเข้าใจทางภาษาถ้ามีเครื่องช่วยฟัง 

           จำแนก 4 ประเภท
1.หูตึงระดับน้อย มี การได้ยิน เฉลี่ยระหว่าง 26-40 เดซิเบล (dB)
2. หูตึงระดับปานกลาง มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 41-55 เดซิเบล (dB)
3.หูตึงระดับมาก มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 56-70 เดซิเบล (dB) 
4. หูตึงระดับรุนแรง  มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 71-90 เดซิเบล (dB) 




เด็กหูหนวก หมายถึง  เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ท าให้หมดโอกาสที่จะ เข้าใจภาษาพูดจากการได้ยินด้วยหูเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีหรือมีเครื่องช่วยฟังจนเป็นเหตุให้ไม่ สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้หากไม่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ ถ้าวัดระดับการได้ยินแล้วจะมี การได้ยินตั้งแต่ 91 เดซิเบล (dB) ขึ้นไป



2.3 เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น  
 (Children with Visual Impairments Children)



หมายถึง ผู้ที่มองไม่เห็น หรือพอเห็นแสง เห็นเลือนลาง และมี ความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง โดยมีความสามารถในการเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตา ปกติ หลังจากที่ได้รับการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์แล้ว หรือมีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา เด็กบกพร่องทางการเห็น

     จำแนกได้เป็น 2 ประเภท 
1. เด็กตาบอด
2. เด็กตาบอดไม่สนิท




ลักษณะเด็กบกพร่องทางการมองเห็น
- เดินงุ่มง่าม ชนและเดินสะดุด
- มองเห็นสีผิดจากปกติ
- ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน


การประเมิน (Assessment)

การประเมินห้องเรียน (Classroom)
- ห้องเรียนเย็นสบายต่อการเรียนรู้ อุปกรณ์เอื้ออำนวยต่อการเรียนการเรียนสอน

การประเมินเพื่อน (Classmate)
- เพื่อนเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีความตั้งใจเรียน

การประเมินอาจารย์ (Teacher)
- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะ อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาอย่างดี มีการเปิดวีดิโอ และยกตัวอย่างอาการต่างๆมีรูปเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

การประเมินตนเอง (Self)
- เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน จดตามที่อาจารย์สอน เมื่อมีข้อสงสัยยกมือถาม มีส่วนร่วมในการเรียนในคาบเรียนเป็นอย่างดี











































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น